วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

การฝึกออกเสียงตัวที่ยาก

                  พยัญชนะในพินอินที่ออกเสียงยาก  เช่น   j  q  x  zh  ch  sh  z  c  s

  เรามาลองฝึกออกเสียงบางตัวกันนะคะ
           
                                  
                              
                             
                                            
             

                      

                                        

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์

            
                                 การเปลี่ยนเสียง  3   เมื่อเสียง  3  มาอยู่ติดกัน  มีหลักการเปลี่ยนดังต่อไปนี้

 1.  เสียง 3  ติดกัน2ตัว  ให้เปลี่ยนตัวหน้าเป็นเสียง 2 เวลาพูด

 2.  เสียง 3  ติดกัน3ตัว  ให้เปลี่ยนตัวกลางเป็นเสียง 2 เวลาพูด

 3.  เสียง 3  ติดกันตั้งแต่4ตัวขึ้นใหัเปลี่ยนจับคู่2 และ 3 


                          




วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

กฎการเติมวรรณยุกต์


กฎของการเติมวรรณยุกต์

1.        เครื่องหมายวรรณยุกต์จะใส่ไว้ตรงสระเท่านั้น ห้ามใส่ไว้บนพยัญชนะ

2.        ห้ามใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ไว้บน –n  –ng

3.        ตำแหน่งการใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ จะใส่ไว้ตามลำดับสระพี่น้องดังนี้


EX               bāo        gěi          liè       nüē        tū
                   เปา        เก่ย        เลี่ย       เนวีย       ทู

             4.        กรณีที่เป็นสระ i (อี)ให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ทับจุด  เช่น  lī (ลี)
5.       กรณีที่เป็นสระ ü (อวี) ให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ไว้ข้างบนจุดจุด  เช่น   nǚ (หนวี่)
            6.        กรณีที่เป็นสระฝาแฝด ( i อี  u อู) ให้วางวรรณยุกต์ไว้ที่สระด้านหลังเสมอ เช่น duī (ตุย) diū (ติว)
  
  
               

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

ดอกไม้ประจำชาติไทย

ดอกราชพฤกษ์คือดอกไม้ประจำชาติไทยครับ ดอกสีเหลืองเท่านนั้นครับ เพิ่มเติมข้อมูลจากทุกท่านครับ  ว่าทำไมต้องเป็นราชพฤษกษ์
-----------------------------------------------
จากอดีตที่ผ่านมากว่า 50 ปี ทางราชการมีความพยายามหลายครั้งในการกำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย โดยเฉพาะการกำหนด ต้นไม้ และ ดอกไม้ ประจำชาติ เริ่มต้นที่กรมป่าไม้ได้ชักชวนให้ประชาชนสนใจต้นราชพฤกษ์หรือคูณมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2494
โดยรัฐบาลมีมติให้ถือวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ (arbour day) มีการชักชวนให้ปลูกต้นไม้ที่มีประโยชน์ชนิดต่างๆ มากมาย ในขณะเดียวกันก็ได้มีการเสนอว่า ต้นราชพฤกษ์ น่าจะถือเป็นต้นไม้ประจำชาติ
กระทั่งในปี พ.ศ.2506 มีการประชุมเพื่อกำหนดสัญลักษณ์ต้นไม้และสัตว์ประจำชาติเป็นครั้งแรก โดยกรมป่าไม้ได้เสนอให้ ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูณ ไม้มงคลที่มีประโยชน์และรู้จักกันอย่างแพร่หลายเป็นต้นไม้ประจำชาติ
ปี พ.ศ.2530 มีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์อีกครั้ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยมีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์ทั่วประเทศจำนวน 99,999 ต้น ทุกวันนี้จึงมีต้นราชพฤกษ์อยู่มากมายทั่วประเทศไทย
-----------------------
ปี พ.ศ.2544 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ได้นำเรื่องดังกล่าวกลับมาเสนออีกครั้ง และมีข้อสรุปเสนอให้มีการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติ 3 สิ่งคือ ดอกไม้ สัตว์และสถาปัตยกรรม และการพิจารณาที่ผ่านมาเสนอให้กำหนดดอกไม้ประจำชาติคือ ดอกราชพฤกษ์ สัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย และสถาปัตยกรรมประจำชาติคือ ศาลาไทย
---------------------------------
 

พินอิน

              พินอิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พินอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (จีนตัวเต็ม: 漢語拼音; จีนตัวย่อ: 汉语拼音; พินอิน: Hànyǔ Pīnyīn; จู้อิน : ㄏㄢˋ ㄩˇ ㄆㄧㄣ แปลว่า การถอดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรโรมัน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถ่ายถอดเสียง หรือการทับศัพท์)
พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถ่ายถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย
นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถ่ายถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese)
สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถ่ายถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย
ต่อไปนี้เป็นการถ่ายถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน